ข้อมูลทั่วไป
 
ข้อมูลพื้นฐาน ประวัติความเป็นมา วิสัยทัศน์/พันธกิจ ตราสัญลักษณ์
  • 1. สภาพทั่วไป
    1.1 ที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะเขือ อยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอคลองขลุงและห่างจากอำเภอคลองขลุงเป็นระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร สำหรับที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะเขือ ตั้งอยู่บริเวณริมถนนสายท่ามะเขือ - บึงสำราญ ตำบลท่ามะเขือ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ.2539 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2539)
    1.2 เนื้อที่ องค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะเขือ มีเนื้อที่ประมาณ 50 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 31,454 ไร่
    1.3 ภูมิประเทศ องค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะเขือ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลวังบัว อำเภอคลองขลุง ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลทุ่งทราย อำเภอทรายทองวัฒนา ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เทศบาลตำบลท่ามะเขือ อำเภอคลองขลุง

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

  • อบต.ท่ามะเขือ จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ.2539 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2539) มีการปกครองแบ่งออกเป็น 9 หมู่บ้าน อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางส่วน จำนวน 2 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านเกาะหมู, บ้านท่ามะเขือ หมู่บ้านที่อยู่ในเขต องค์การบริหารส่วนตำบล ทั้งหมู่บ้าน จำนวน 7 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านโนนมะกอก, บ้านหนองจอก, บ้านวังน้ำแดง, บ้านดงประดา, บ้านอู่สำเภา, บ้านคลองพัฒนา, บ้านหนองจอกพัฒนา

  • “ยึดมั่นคุณธรรม เกษตรกรรมยั่งยืน พลิกฟื้นคุณภาพชีวิต สร้างจิตสำนึกมีส่วนร่วม”

    พันธกิจการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล

    • 1. จัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นและประสานแผนพัฒนาท้องถิ่น
    • 2. จัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
    • 3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
    • 4. การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ
    • 5. การสาธารณูปการ
    • 6. การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพอื่น
    • 7. การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
    • 8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว
    • 9. การจัดการศึกษา
    • 10. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
    • 11. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
    • 12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
    • 13. การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
    • 14. การส่งเสริมกีฬา
    • 15. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
    • 16. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
    • 17. การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
    • 18. การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
    • 19. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
    • 20. การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
    • 21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
    • 22. การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
    • 23. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ
    • 24. การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    • 25. การผังเมือง
    • 26. การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
    • 27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ
    • 28. การควบคุมอาคาร
    • 29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
    • 30. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกัน และรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน